โรคปวดข้อศอก เทนนิสเอลโบว์

Tennis elbow หรือ Lateral epicondylitis

“ปวดข้อศอกด้านนอก รบกวนการทํางาน ควรทําอย่างไร”

โรคปวดข้อศอกเทนนิสเอลโบว์คืออะไร

คือการอักเสบและบาดเจ็บของเส้นเอ็นแขนในบริเวณที่ยึดเกาะกับปุ่มกระดูกด้านข้างข้อศอก เกิดจากการ ใช้งานมากและใช้งานซ้ำๆกัน พบบ่อยในช่วงอายุ 30-50 ปี เพศหญิงมากกว่าเพศชายเล็กน้อยและพบในแขนข้าง ที่ถนัดมากกว่า แต่อาจพบพร้อมกันทั้ง 2 ข้างได้

(ในบางคนภาวะนี้เกิดกับเส้นเอ็นแขนในบริเวณที่ยึดเกาะกับปุ่มกระดูกด้านในข้อศอก เรียกว่า โรคปวด ข้อศอก Golfer elbox หรือ Medial epicondylitis)

สาเหตุคืออะไร

การใช้งานหรือทํากิจกรรมบางอย่าง ที่ต้องใช้งานกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นแขน โดยเฉพาะการกระดกข้อมือ ขึ้นลงซ้ำๆกัน และต้องออกแรงมาก เช่น แม่บ้านที่ต้องกวาดบ้าน ถูบ้าน ซักผ้า หรือทํากับข้าวนานๆ, ช่างไม้ ช่าง ประปา ที่ต้องออกแรงใช้ข้อมือทํางาน, แม่ค้าขายเนื้อที่ต้องนั่นหรือสับเนื้อ ตลอดจนนักกีฬาบางประเภท เช่นนัก เทนนิส นักแบดมินตัน นักกอล์ฟเป็นต้น แต่ในบางคนก็เกิดขึ้น โดยไม่มีสาเหตุนํามาก่อน

อาการเป็นอย่างไร

ปวดบริเวณด้านข้างของข้อศอก อาจปวดร้าวลงไปที่แขนหรือร้าวขึ้นไปที่ต้นแขน บางคนอาจรู้สึกล้าหรือ อ่อนแรงในการกํามือ อาการมักเป็นมากขึ้นเมื่อใช้งานข้อมือและแขนข้างนั้น เช่นบิดผ้า บิดแฮนด์รถมอเตอร์ไซค์ บิดประแจ ไขกุญแจ เล่นเทนนิส เป็นต้น

การรักษา ประกอบด้วย 2 วิธี ได้แก่

1. การรักษาด้วยวิธีการไม่ผ่าตัด ประมาณ 80-95% ของผู้ป่วยสามารถรักษาสําเร็จด้วยวิธีนี้ มีหลายวิธี ได้แก่

  • การพักการใช้งาน, กิจกรรม หรือกีฬาที่ต้องใช้งานแขนหนัก
  • การทานยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ เพื่อลดการอักเสบและลดอาการปวด อาจเสริมด้วยยาคลายกล้ามเนื้อและยาแก้ปวดเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษา
  • การทํากายภาพบําบัด เช่น การฝึกยืดกล้ามเนื้อ และเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ
ภาพแสดงการฝึกยืดกล้ามเนื้อ
ภาพแสดงการฝึกความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ
  • การใช้คลื่นอัลตราซาวค์หรือคลื่นเสียงกระตุ้นกล้ามเนื้อ, การประคบเย็นบริเวณกล้ามเนื้อและเส้นเอ็น
  • การใช้สนับรัดพยุงข้อศอก เพื่อช่วยลดการขยับตัวของกล้ามเนื้อ และลดแรงที่มากระทําต่อเส้นเอ็น
ภาพแสดงสนับรัดพยุงข้อศอก
  • การฉีดยาสเตียรอยด์ เพื่อลดการอักเสบ และลดอาการปวดในกรณีที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยวิธีอื่น
  • นักกีฬาที่ต้องใช้ไม้แร็กเก็ต เช่น เทนนิส แบดมินตัน ควรเลือกใช้ไม้ตีที่มีขนาดหัวไม้ และความตึงของ เส้นเอ็นที่เหมาะสม

2. การรักษาด้วยวิธีการผ่าตัด

ถ้าใช้วิธีการรักษาด้วยวิธีการ ไม่ผ่าตัดอย่างเต็มที่ 6-12 เดือนแล้วยังไม่ได้ผล แพทย์อาจแนะนําให้รักษา ด้วยวิธีการผ่าตัด โดยเป็นการตัดแต่งเส้นเอ็นและกล้ามเนื้อที่บาดเจ็บ และมีสภาพที่ไม่ดีออกไป และซ่อมแซม ส่วนที่ดียึดเข้ากับกระดูกด้านข้างข้อศอก