พังผืดกดทับเส้นประสาทบริเวณข้อมือ

“ปวดมือ ชามือ รักษาได้”

พังผืดกดทับเส้นประสาทบริเวณข้อมือ

เป็นโรคที่พบได้บ่อยในคนทํางานทั่วๆ ไป พบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย มักมีอาการปวด ตึง ชา บริเวณฝ่ามือและนิ้วมือ

ลักษณะทางกายวิภาค

ภายในข้อมือของคนเราจะมีโพรงแคบๆคล้ายอุโมงค์เป็นที่ลอดผ่านของเส้นเอ็น เส้น เลือดและเส้นประสาท ซึ่งขอบของอุโมงค์ด้านล่างและด้านข้างจะเป็นกระดูกข้อมือหลายๆชิ้น ประกอบกัน ส่วนขอบบนจะคลุมด้วยพังผืด เส้นประสาทมีเดียนเป็นเส้นประสาทที่ทอดยาวมา จากต้นแขน ผ่านข้อมือเข้าไปในมือโดยลอดผ่านโพรงนี้

ภาพแสดงลักษณะทางกายวิภาคของ เส้นประสาทมีเคียนที่ลอดผ่านใด้พังผืด

สาเหตุ

เกิดจากการที่เนื้อเยื่อรอบๆเส้นเอ็นข้อมือมีการบวมมากขึ้น ทําให้โพรงในบริเวณข้อมือ ตีบแคบมากขึ้น ส่งผลให้ความดันในข้อมือสูงขึ้น และไปกดเบียดเส้นประสาทมีเดียน

ปัจจัยเสี่ยง

  1. พันธุกรรม บางคนมีลักษณะทางกายวิภาคของโพรงข้อมือแคบกว่าคนทั่วไป
  2. การทํางานที่ต้องใช้ข้อมือมากๆ เช่น พิมพ์คอมพิวเตอร์, กวาดบ้าน ถูบ้าน, ซักผ้า,ทํากับข้าว
  3. การที่ข้อมืออยู่ในท่ากระดกขึ้นหรือลงค้างไว้นานๆ เช่น การใช้เม้าส์, คุยโทรศัพท์, เล่นแทปเล็ต, ขับรถมอเตอร์ไซค์, ใช้มือค้ํายันหรือนอนพับข้อมือ
  4. ฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลงโดยเฉพาะผู้ที่ตั้งครรภ์
  5. อายุ อายุมากขึ้นมีโอกาสที่จะเป็นได้มากขึ้น
  6. โรคบางอย่างเช่น เบาหวาน, รูมาตอยด์, ไทรอยด์

อาการ

ปวด ชาบริเวณฝ่ามือและนิ้วมือ โดยเฉพาะนิ้ว โป้ง ชี้ กลาง และนิ้วนาง บางคนรู้สึกบวม ตึง อาจเป็นข้างเดียวหรือสองข้างก็ได้ มักมีอาการเด่นในมือข้างที่ถนัด อาการมักจะค่อยเป็นค่อย ไป โดยทั่วไปสามารถเกิดขึ้นได้ทุกเวลา แต่มักมีอาการมากขึ้นตอนกลางคืน เนื่องจากขณะหลับ มักมีการพับงอข้อมือ บางครั้งอาจตื่นขึ้นมาเนื่องจากอาการปวด ชา แต่เมื่อสะบัดข้อมือแล้ว อาการจะดีขึ้น ส่วนในช่วงกลางวันมักมีอาการในขณะที่มีการใช้ข้อมือมากหรืออยู่ในอิริยาบถที่ ข้อมือพับงอเป็นเวลานาน อาการเหล่านี้มักเป็นๆหายๆ แต่เมื่อนานเข้าอาจจะเป็นตลอดเวลา

ภาพแสดงบริเวณที่มีอาการปวด

นอกจากนี้ อาจมีอาการอ่อนแรงของมือและนิ้วได้ เช่น กํามือได้ไม่แน่น หยิบจับของ แล้วหล่นง่าย ถ้าไม่รีบรักษาจะสังเกตเห็นกล้ามเนื้อในมือฝ่อลีบ

การวินิจฉัย

โดยทั่วไปสามารถวินิจฉัยได้จากการซักประวัติและตรวจร่างกายโดยแพทย์ ในบางกรณี ที่อาการไม่ชัดเจน อาจต้องตรวจการนําไฟฟ้าของเส้นประสาทเพื่อใช้ช่วยยืนยันการวินิจฉัย หรือ ใช้แยกโรคบางอย่างที่มีอาการคล้ายๆกัน

การรักษา

มีสองวิธีหลักคือ

  1. การรักษาโดยการไม่ผ่าตัด
  2. การรักษาโดยการผ่าตัด

การรักษาโดยการไม่ผ่าตัด

หากผู้ป่วยมาพบแพทย์เร็ว สามารถรักษาได้โดยการไม่ต้องผ่าตัด ซึ่งมีหลายวิธีดังนี้

  • ทานยาแก้ปวด, ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ และวิตามินบํารุงเส้นประสาท
  • ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการทํางาน เช่นลดการทํางานที่ต้องใช้ข้อมือมากๆ หลีกเลี่ยงท่าทาง ที่ต้องพับข้อมือขึ้นหรือลงเป็นระยะเวลานาน
  • ใส่อุปกรณ์พยุงข้อมือหรือเฝือกอ่อน ช่วยให้ข้อมือไม่พับงอทั้งในเวลากลางวันและกลางคืน
  • กายภาพบําบัด เช่น การทําอัลตราซาวน์, การบริหารมือ, การประคบอุ่นหรือแช่น้ำอุ่น
  • การฉีดยาสเตียรอยด์เข้าข้อมือ เพื่อลดการอักเสบของเนื้อเยื่อรอบเส้นประสาท
ภาพแสดงอุปกรณ์ช่วยประคองข้อมือ

การรักษาโดยการผ่าตัด

ในผู้ที่มีอาการค่อนข้างมาก ถ้ารักษาโดยวิธีการไม่ผ่าตัดแล้วได้ผลไม่ดี การผ่าตัดพังผืด จะช่วยลดการกดทับเส้นประสาทได้ การผ่าตัดเป็นการผ่าตัดเล็ก แผลผ่าตัดยาวประมาณ 1 – 1.5 ซม. ทําโดยการฉีดยาชาเฉพาะที่ ใช้เวลาผ่าตัดประมาณ 15 ถึง 20 นาที และไม่ต้องนอน โรงพยาบาล หลังการผ่าตัดผู้ป่วยสามารถขยับมือ และใช้งานเบาๆ ได้เลย อาการต่างๆมักจะ หายไปในช่วงเวลาอันสั้น อาจจะมีอาการเจ็บบริเวณแผลผ่าตัดบ้างเล็กน้อยจนกว่าแผลจะหาย