พังผืดใต้ฝ่าเท้าคืออะไร
พังผืดใต้ฝ่าเท้าเป็นโครงสร้างปกติที่อยู่ใต้กระดูกเท้า มีลักษณะเป็นแผ่นเนื้อเยื่อแบน ยาว ยึดระหว่างกระดูก ส้นเท้ากับกระดูกนิ้วเท้า ทําหน้าที่รักษารูปร่างเท้าให้สมดุล และช่วยลดแรงกระแทกต่อเท้า
พบบ่อยแค่ไหน
พบได้ค่อนข้างบ่อย โดยเป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่สุดของผู้ป่วยที่มีอาการปวดใต้ส้นเท้า พบบ่อยในวัยกลางคน ผู้หญิงมากกว่าชาย และในคนที่ต้องใช้งานเท้ามากหรือสวมใส่รองเท้าไม่เหมาะสม
สาเหตุคืออะไร
เกิดจากการบาดเจ็บของพังผืดใต้ฝ่าเท้า เนื่องจากมีแรงกดต่อพังผืดเป็นระยะเวลานานหรือซ้ำๆกัน ทําให้เกิด การอักเสบและตึงตัวของพังผืดขึ้น โดยมักจะเกิดในตําแหน่งที่พังผืดยึดกับกระดูกส้นเท้า
ปัจจัยเสี่ยงมีอะไรบ้าง
- คนที่มีกล้ามเนื้อน่องหรือเอ็นร้อยหวายถึง
- รูปร่างเท้าผิดปกติ เช่น เท้าแบน หรือเท้ามีความโค้งมากกว่าปกติ
- น้ำหนักตัวมาก
- ใช้รองเท้าที่ไม่เหมาะ เช่น ส้นสูงเกินไป ส้นแข็งขาดความยืดหยุ่น หรือพื้นรองเท้าแบนและบางเกินไป
- กิจกรรมหรือกีฬาบางอย่าง เช่นวิ่งระยะไกล โดยเฉพาะพื้นต่างระดับหรือพื้นไม่เรียบ
อาการ
ปวดบริเวณใต้ส้นเท้า อาจปวดร้าวไปที่ฝ่าเท้าได้ โดยอาการมักเป็นมากในช่วงเช้าขณะเริ่มเดินก้าวแรกๆ ของ วัน ขณะเดินขึ้นบันได หรือหลังจากยืน เดินนานๆ โดยอาการปวดอาจค่อย ๆ เกิดขึ้นทีละน้อยหรือเกิดขึ้น ฉับพลันรุนแรงก็ได้
การรักษา
แบ่งเป็น 2 วิธี ได้แก่
1.การรักษาโดยการไม่ผ่าตัด
ได้ผลค่อนข้างดี โดยมากกว่า 90 % ของผู้ป่วยอาการจะค่อยๆดีขึ้น มีหลายวิธี ได้แก่
- การพัก ควรลดหรือหยุดการใช้งานเท้ามาก และกิจกรรมที่อาจทําให้อาการปวดกําเริบ เช่น การวิ่ง ยืนหรือเดินนาน ๆ การยกของหนัก
- การประคบเย็นบริเวณที่ปวด ครั้งละ 10-15 นาที อย่างน้อยวันละ 2-3 ครั้ง
- การใช้ยาต้านอักเสบและยาแก้ปวด
- การทํากายภาพบําบัด ได้แก่การยึดฝ่าเท้าและเอ็นร้อยหวาย
- การปรับเปลี่ยนรองเท้าให้เหมาะสม เช่น การเสริมแผ่นรองส้นเท้าที่หนานิ่มและมีความยืดหยุ่นเพื่อช่วยลดและกระจายแรงกระแทกบริเวณส้นเท้า และเป็นการช่วยถ่ายน้ำหนักไปยังฝ่าเท้าส่วนหน้า ควร หลีกเลี่ยงการใส่รองเท้าส้นสูง
- บางรายอาจต้องใส่เฝือกอ่อนเวลานอน เพื่อยืดกล้ามเนื้อน่องและพังผืดส้นเท้าไม่ให้หดเกร็งตัวตอน กลางคืน
- หากไม่ได้ผลอาจต้องฉีดยาสเตียรอยด์บริเวณพังผืดใต้ฝ่าเท้าเพื่อลดการอักเสบและอาการปวด ควรทํา โดย แพทย์ผู้เชี่ยวชาญและไม่ควรฉีดซ้ำหลายๆครั้ง
2.การรักษาโดยการผ่าตัด
เป็นทางเลือกสุดท้ายในกรณีที่รักษาด้วยวิธีการไม่ผ่าตัดอย่างเต็มที่ประมาณ 1 ปีแล้วอาการยังไม่ดีขึ้น โดย หลักการผ่าตัดคือ การตัดพังผืดใต้ฝ่าเท้าออกบางส่วนเพื่อลดความตึงตัวของพังผืด
การบริหารง่ายๆที่สามารถทําได้ด้วยตนเอง
การยึดเอ็นร้อยหวาย
ท่าที่ 1: ผู้ป่วยยืนหันหน้าเข้าหากําแพง ใช้มือยันกําแพงไว้วางเท้าที่ต้องการยึดเอ็นร้อยหวายไว้ข้างหลัง แล้ว ค่อยๆย่อเข่าด้านหน้าลงให้มากที่สุดเท่าที่จะทําได้ โดยขาด้านหลังเหยียดตึง ฝ่าเท้าและส้นเท้าติดพื้นตลอดเวลา
ย่อลงจนรู้สึกว่าข้อพับด้านหลังและน่องติ้ง ทําค้างไว้ นับ 1 – 10 ถือเป็น 1 ครั้ง ทําชุดละ 10 ครั้ง อย่างน้อยวันละ
ท่าที่ 2: ผู้ป่วยนั่งเหยียดขาข้างที่ต้องการยึดเอ็นร้อยหวาย ใช้ผ้าคล้องที่ปลายเท้าไว้แล้วดึงเข้าหาตัวจนรู้สึกว่าน่อง ด้านหลังตึง ทําค้างไว้นับ 1 – 10 ถือเป็น 1 ครั้ง ทําชุดละ 10 ครั้ง อย่างน้อยวันละ 3-5 ชุด
การยึดพังผืดใต้ฝ่าเท้า
ให้นั่งไขว่ห้าง เอาเท้าข้างที่เจ็บขึ้นมาวางบนต้นขาข้างตรงข้าม แล้วกํานิ้วเท้าข้างที่เจ็บและดันเข้าหาตัวใน ท่ากระดูกนิ้วเท้าขึ้น ให้รู้สึกว่าฝ่าเท้ายืดออก เกร็งค้างไว้ นับ 1 – 10 ถือเป็น 1 ครั้ง ทําชุดละ 10 ครั้ง อย่างน้อยวัน ละ 3-5 ชุด ถ้าทําท่านี้ไม่สะดวกอาจนั่งเหยียดขาใช้ผ้าพันรอบปลายเท้าแล้วดึงเข้าหาตัวก็ได้
การป้องกัน
- ลดน้ำหนักถ้าน้ำหนักตัวมาก
- หลีกเลี่ยงการเดินเท้าเปล่าบนพื้นแข็ง พื้นไม่เรียบ พื้นต่างระดับ
- สวมใส่รองเท้าที่เข้ารูปกับความโค้งของเท้า มีพื้นหนาแต่ยืดหยุ่นดี หลีกเลี่ยงการใส่รองเท้าส้นสูง
- บริหารโดยการยืดพังผืดใต้เท้าและเอ็นร้อยหวายอย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะหลังตื่นนอนและก่อนเล่นกีฬา
- เปลี่ยนรองเท้ากีฬาสม่ำเสมอ ไม่ควรใช้รองเท้าที่เสื่อมสภาพ