โรคนิ้วล็อค

“ขยับนิ้วแล้วปวด งอนิ้วแล้วเหยียดไม่ได้ ควรทําอย่างไร”

โรคนิ้วล็อคคืออะไร

นิ้วล็อคเป็นภาษาที่เรียกกันง่ายๆ ตามอาการที่เป็นคือมีอาการปวดบริเวณโคนนิ้วมือ สามารถงอนิ้วได้แต่เวลาเหยียด นิ้วใดนิ้วหนึ่งหรือหลายนิ้วเหยียดไม่ ออกเหมือนโดนล็อคไว้เกิดจากการอักเสบและหนาตัวขึ้น ของปลอกหุ้มเส้นเอ็นที่ทําหน้าที่งอนิ้ว ซึ่งอยู่บริเวณฝ่ามือตรงตําแหน่งโคนนิ้ว ทําให้เส้นเอ็นเคลื่อนผ่าน ปลอกหุ้มเส้นเอ็นที่หนาขึ้นด้วยความลําบาก มีการเสียดสีทําให้เกิดอาการปวด หรือติดล็อคได้ พบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย อายุที่พบบ่อย 40 – 50 ปี มักเกิดกับผู้ที่ใช้ งานมือในลักษณะเกร็งนิ้วบ่อยๆ เช่น งานบ้าน การนิ้วหรือยกของหนัก การใช้กรรไกรเป็นระยะเวลานาน เป็นต้น

ภาพแสดงการหนาตัวของปลอกหุ้มเส้นเอ็นและการอักเสบของเส้นเอ็นที่ทําหน้าที่งอนิ้ว

อาการเป็นอย่างไร

อาการของโรคแบ่งเป็น 4 ระยะ คือ

  • ระยะแรก มีอาการปวดบริเวณโคนนิ้วมือด้านฝ่ามือ แต่ยังไม่มีอาการสะดุดหรือติดล็อค
  • ระยะที่สอง มีอาการปวดที่เพิ่มขึ้นและสะดุดเวลาขยับนิ้ว
  • ระยะที่สาม มีอาการติดล็อคเมื่องอนิ้ว ไม่สามารถเหยียดนิ้วออกได้ ต้องเอามืออีกข้างมาช่วยเหยียด
  • ระยะที่สี่ มีการอักเสบรุนแรงจนนิ้วบวมติดอยู่ในท่างอเล็กน้อย ไม่สามารถเหยียดให้ตรงได้ ถ้าฝืนเหยียดจะปวดมาก

การรักษา

แบ่งออกเป็น 2 วิธีใหญ่ๆคือ

1.การรักษาโดยการไม่ผ่าตัด มีหลายวิธี ได้แก่

  • หยุดพักหรือลดการใช้งาน ในกรณีที่อาการเป็นไม่มากหรืออยู่ในระยะเริ่มต้น จะช่วยให้การอักเสบและอาการปวดลดลง
  • การรับประทานยาต้านการอักเสบของเนื้อเยื่อ เพื่อลดการอักเสบและอาการปวด
  • การทํากายภาพบําบัด ได้แก่ การใช้อุปกรณ์ตามนิ้วมือ การนวดเบาๆ การใช้ความร้อนประคบ การแช่น้ำอุ่น และการบริหารโดยการเหยียดนิ้ว
  • การฉีดยาสเตียรอยด์ในตําแหน่งที่มีการอักเสบ ใช้ในกรณีที่เป็นรุนแรง ทานยาและพักแล้วอาการไม่ดีขึ้น มีข้อจํากัดคือ ไม่ควรฉีดยาเกิน 2-3 ครั้ง

2.การรักษาโดยการผ่าตัด

ข้อบ่งชี้ในการผ่าตัด คือมีอาการที่รุนแรงหรือเป็นมากขึ้นจนรบกวนชีวิตประจําวัน และอาการไม่ดีขึ้นหลังจากรักษาด้วยวิธีการไม่ผ่าตัดอย่างเต็มที่แล้ว ข้อดี ของการผ่าตัดคือ จะไม่กลับมาเป็นซ้ำอีก หลักในการผ่าตัดคือ เป็นการผ่าตัดเฉพาะที่ โดยการตัดปลอกหุ้มเส้นเอ็นที่หนาอยู่ให้เปิดกว้างออกเพื่อให้เส้นเอ็น เคลื่อนผ่านได้โดยสะดวก ไม่สะดุดหรือติดล็อกอีก

การป้องกัน

  • การทํางานที่ต้องใช้มือและนิ้วมือซ้ำๆ กันอย่างต่อเนื่อง เช่นงานบ้านต่างๆ ควรพักเป็นระยะๆ ไม่ควรฝืนทําเป็นระยะเวลานาน
  • ถ้าจําเป็นต้องทํางานที่ต้องใช้มือกํา หยิบ บีบเครื่องมือหรืออุปกรณ์เป็นเวลานาน ควรใส่ถุงมือหรือใช้ผ้าห่อที่จับให้หนานุ่ม
  • ไม่นิ้วของหนักด้วยนิ้วมือ ถ้าจําเป็นควร ใช้ผ้าที่หนานุ่มรองและนิ้วให้น้ำหนักตกที่ฝ่ามือ หรือใช้การอุ้มประคองช่วย
  • ถ้ารู้สึกระบมจากการทํางาน หรือนิ้วติดหลังจากตื่นนอน ให้แช่น้ำอุ่นและบริหาร โดยการกํามือแบมือเบาๆในน้ำ จะทําให้เคลื่อนไหวได้คล่องขึ้น